วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เรื่อง

ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ

 
ส33101 ประวัติศาสตร์
ปีการศึกษา 1/2555
โรงเรียนสตรีวิทยา

ที่ปรึกษา


อาจารย์ ปรางค์สุวรรณ  ศักดิ์โสภณกุล

จัดทำโดย
                                   
      1.  ณัฐนิชา เล็งวิทยา                      ม.6.10    เลขที่  7
      2.  ดลพร เต็มคุณธรรม                    ม.6.10   เลขที่  8
      3.  พร้อมพิชชา เหลี่ยมมงคลกุล      ม.6.10    เลขที่  12
      4.  ภัทราภรณ์ จินากุล                     ม.6.10   เลขที่  16
      5.  วศินี จิตตภิรมย์                          ม.6.10   เลขที่  19

คำนำ

          รายงานเรื่อง ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ จัดทำขึ้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสาเหตุของความขัดแย้งและวิธีการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ ภายในเนื้อหาประกอบด้วย สาเหตุความขัดแย้งระหว่างประเทศ การแก้ไขความขัดแย้ง ความร่วมมือแก้ไขความขัดแย้ง การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ ซึ่งข้อมูลได้ถูกค้นคว้ามาจากทางอินเตอร์เน็ต และหนังสือประกอบการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ม.4-6 เล่ม 2

            ทางคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานชิ้นนี้จะให้ความรู้และประโยชน์แก่ผู้อ่านและผู้สนใจที่จะศึกษาเรื่องความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศไม่มากก็น้อย
  

                                                                                                คณะผู้จัดทำ

ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ


ศึกษาความหมายของความขัดแย้ง
              พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2525 ให้คำอธิบายขัดแย้ง” ว่าขัด” หมายถึงไม่ทำตาม ฝ่าฝืน ขืนไว้ ส่วนแย้งหมายถึง ไม่ตรงกัน ไม่ลงรอยกัน ต้านไว้ ทานไว้ รวมความแล้ว ความขัดแย้งหมายถึง “ สภาพความไม่ลงรอยกัน คือไม่ยอมทำตามและยังมีความต้านทานไว้
           
             นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาเห็นว่าความขัดแย้งเป็นผลผลิตของสิ่งแวดล้อมในทางสังคม” ส่วนนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า “ความขัดแย้งเป็นการศึกษาและการวิเคราะห์ถึงระหว่างผู้แสดงในรายการบางรายการที่หายากและมีคุณค่าส่วนนักรัฐศาสตร์เห็นว่า “เป็นสัมพันธภาพระหว่างอำนาจ อิทธิพล และอำนาจหน้าที่ เป็นพฤติกรรมทางสังคม มองที่การแบ่งอำนาจทางสังคม เกี่ยวกับอำนาจ กระบวนการตัดสินใจระหว่างสถาบันต่างๆ การเมืองระหว่างเอกชน กลุ่ม และชาติ และสัมพันธภาพเช่นนั้น ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างบุคคล สังคม และ ระบบ

            จากความหมายดังกล่าวมาพอสรุปได้ว่า ความขัดแย้งเป็นความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่ขัดกันทั้งภายในตนเอง ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขัน หรือการทำลายกัน      

สาเหตุความขัดแย้งระหว่างประเทศ

ศึกษาสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

1.  สาเหตุความขัดแย้งของมนุษยชาติในอดีต
ในอดีตมนุษยชาติมีปัญหาความขัดแย้งไม่ลงรอยกัน ทั้งขัดแย้งทางความคิดและการกระทำ ซึ่งนำไปสู่การต่อสู้หรือทำสงครามทำลายล้างกัน        

สาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ได้แก่
(1)   แย่งชิงดินแดนและที่อยู่อาศัย
(2)   แย่งชิงแหล่งน้ำและอาหาร                       
(3)   แย่งชิงทรัพย์สินและกวาดต้อนผู้คน เพื่อนำมาใช้เป็นกำลังแรงงาน
(4)   ความขัดแย้งในความเชื่อและศาสนา


2.  สาเหตุความขัดแย้งของมนุษยชาติในยุคปัจจุบัน
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939-1945) สิ้นสุดลง ความขัดแย้งของมนุษยชาติในสมัยปัจจุบันยิ่งเพิ่มมากขึ้น

โดยมีสาเหตุสรุปได้ดังนี้
2.1   ความแตกต่างทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
2.2   ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจ
2.3   การแข่งขันด้านอาวุธ

2.4   ลัทธิชาตินิยม
2.5   การต่อต้านบทบาทของชาติมหาอำนาจ
 

3. ความแตกต่างทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
   ความขัดแย้งของมนุษย์ชาติในสมัยปัจจุบันที่มีสาเหตุเกิดจากความแตกต่างทางด้านสังคมและวัฒนธรรม มีดังนี้

3.1 ความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ หรือที่เรียกว่าลัทธิเผ่าพันธุ์นิยมเป็นความรู้สึกของผู้คนในประเทศหนึ่งที่ผูกพันกับเผ่าพันธุ์เดิมของตน เกิดความคิดที่จะแบ่งแยกดินแดนเพื่อตั้งเป็นประเทศเอกราชใหม่และเป็นที่อยู่อาศัยเฉพาะเผ่าพันธุ์ของตน ดังตัวอย่าง เช่น ชาวโครแอต (Croat) ก่อตั้งประเทศโครเอเชีย (Republic or Croatia) โดยแยกตัวออกจากสหพันธรัฐยูโกสลาเวีย เมื่อปี ค.ศ.1991
3.2 ความขัดแย้งทางด้านศาสนา  เช่น ความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิมในอินเดีย หรือความขัดแย้งระหว่างผู้นับถือศาสนาเดียวกันแต่เป็นคนละนิกาย  เช่น สงครามครูเสด เป็นความขัดแย้งระหว่างผู้นับถือศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม
3.3 ความแตกต่างทางด้านอารยธรรม  ทำให้มนุษย์เกิดความไม่เข้าใจกันและกลายเป็นสาเหตุความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ อารยธรรมที่สำคัญของโลกในปัจจุบัน เช่น อารยธรรมตะวันตก อารยธรรมจีน และ อารยธรรมฮินดู เป็นต้น










4. ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจ
ความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ กลายเป็นสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งในหมู่มนุษยชาติ ดังนี้

4.1 อุดมการณ์ทางการเมือง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โลกมีความแตกต่างและความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างชาติมหาอำนาจ 2 ค่าย ดังนี้
(1)  ค่ายประชาธิปไตย มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ
(2)  ค่ายคอมมิวนิสต์ มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ

ความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมืองและการแข่งขันกันแผ่ขยายอิทธิพลของชาติ มหาอำนาจทั้งสองค่ายในภูมิภาคต่างๆ ของโลกดังกล่าว ทำให้โลกเข้าสู่ภาวะสงครามเย็น(Cold War) ในช่วงปี ค.ศ.1945-1991 ซึ่งได้สิ้นสุดลงพร้อมๆกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

4.2   ระบบเศรษฐกิจ  ประเทศต่างๆในโลกมีระบบเศรษฐกิจแตกต่างกันจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้
        
       ระบบเศรษฐกิจที่สำคัญจำแนกได้ 3 ระบบใหญ่ๆ ดังนี้
       (1)  ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (Capitalism) ซึ่งรู้จักกันในชื่อต่างๆ เช่น ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด  โดยให้เอกชนมีเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐจะไม่เข้าแทรกแซงหรือแทรกแซงแต่น้อย
       (2)  ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialistic Economic System) โดยรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตต่างๆ และเป็นผู้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญเอง เช่น การธนาคาร การอุตสาหกรรม การสื่อสารและโทรคมนาคม
        (3)  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม  (Mixed Economic System) มีลักษณะผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมกับระบบสังคมนิยม โดยเอกชนยังคงมีเสรีภาพในการผลิต แต่รัฐจะผูกขาดดำเนินกิจกรรมทางด้าน เศรษฐกิจที่สำคัญบางอย่าง เช่น ไฟฟ้า ประปา การคมนาคม และสาธารณูปโภคอื่น

 5.  การแข่งขันด้านอาวุธ
     การแข่งขันสะสมอาวุธร้ายแรงระหว่างชาติต่างๆ กลายเป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ ดังนี้ 


5.1 การแข่งขันกันผลิตและสะสมอาวุธร้ายแรง ของประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นสาเหตุทำให้ประเทศในภูมิภาคเดียวกันเกิดความหวาดระแวง และเร่งดำเนินการผลิตเพื่อเตรียมป้องกันตนเอง



5.2 ประเทศที่มีการสะสมขีปนาวุธร้ายแรง (นิวเคลียร์) ในปัจจุบัน ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งและความหวาดระแวงระหว่างประเทศในภูมิภาคเดียวกัน หรือคู่กรณีที่เคยมีปัญหาความขัดแย้งกันมาก่อน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อินเดีย  จีน เกาหลีเหนือ และอิหร่าน  เป็นต้น


6. ลัทธิชาตินิยม
      6.1 ลัทธิชาตินิยม (Nationalism)
      คือ ความจงรักภักดีต่อชาติของตนสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใดคิดว่าชาติของตน มีความสำคัญเหนือกว่าครอบครัว ท้องถิ่น หรือประชาชาติอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศและกลายเป็นสงครามประหัตถ์ประหารกันได้
      6.2  แนวความคิดชาตินิยมในทวีปเอเชียและแอฟริกา เริ่มปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อญี่ปุ่นทำสงครามรบชนะรัสเซีย ใน ปี พ.ศ. 1905 กระตุ้นให้ชาติเล็ก ๆ เชื่อว่าจะสามารถเอาชนะประเทศยุโรปได้
     6.3  พลังชาตินิยมปรากฏชัดเจนภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 เป็นต้นไป)
 

 


ความร่วมมือแก้ไขความขัดแย้ง

ประเภทของความร่วมมือ ความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของมนุษยชาติ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ  จำแนกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. ความร่วมมือทางการเมือง เช่น องค์การอาเซียน (ASEAN) ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกพัฒนาระบอบการเมืองภายในของตนให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ดังกรณีของประเทศพม่าที่ถูกนานาชาติกดดันให้ปลดปล่อยนางอองซาน ซูจี ผู้นำต่อต้านการปกครองเผด็จการในพม่าให้เป็นอิสระ

2. ความร่วมมือทางการทหาร เช่น สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (หรือ NATO) เพื่อความร่วมมือทางด้านการทหารและความมั่นคงร่วมกันระหว่างประเทศในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ในปัจจุบันมีชาติสมาชิก 19 ประเทศ

3. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ มีลักษณะเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและเขตการค้าเสรี  เช่น สหภาพยุโรป (EU), นาฟตา (NAFTA) และ อาฟตา (AFTA) เป็นต้น

4. ความร่วมมือทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม และอื่น ๆ เช่น องค์การยูเนสโก (UNESCO) หรือองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
ยูนิเซฟ (UNICEF) หรือกองทุนเด็กแห่งประชาชาติ เป็นต้น

แนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ  มี 2 ลักษณะ ดังนี้

1. การสร้างความร่วมมือในเชิงสร้างสรรค์ (Positive)  เป็นแนวทางโดยสันติวิธีและเกิดผล
อย่างยืนยาว มีดังนี้
1. การจัดตั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN)  และองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นต้น
2. การจัดทำกฎหมายระหว่างประเทศ หรือข้อตกลงร่วมกัน เช่น ข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน กฎหมายอาชญากรสงคราม เป็นต้น
3.  การทูต มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตขั้นปกติ  มีสถานเอกอัครราชทูตและเอกอัครราชทูตทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศ
4.  การควบคุมและลดกำลังอาวุธ มีการเจรจาจำกัดการสะสมหรือการทดลองขีปนาวุธต่าง ๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความหวาดระแวงต่อกัน
5. ความร่วมมือทางด้านกีฬา ศิลปวัฒนธรรม และด้านอื่น ๆ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic) การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ เป็นต้น

2. การสร้างความร่วมมือที่ไม่สร้างสรรค์  (Negative)  เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่ไม่ใช้แนวทางสันติวิธี แต่เป็นลักษณะการต่อต้านและใช้กำลัง หรือไม่ติดต่อคบค้าด้วย (Boycott)


1. กรณีสหรัฐอเมริการ่วมมือกับชาติพันธมิตร เช่น อังกฤษ อิตาลี ฯลฯ ใช้กำลังทางทหารเข้าแทรกแซงในอิรัก เพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein) เมื่อปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) โดยอ้างว่าผู้นำอิรักสนับสนุนการผลิตขีปนาวุธที่เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพของโลก

2.  การใช้กำลังทางทหารเข้าบังคับ หรือการทำสงคราม   มี 2 ระดับ คือ
 (1) สงครามจำกัดขอบเขต  (Limited War) โดยใช้กำลังทางทหารเข้าปฏิบัติการในระยะเวลาและพื้นที่อันจำกัด เพื่อมิให้ฝ่ายตรงข้ามเสียหายมากนัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามปฏิบัติตามนโยบายของตนเท่านั้น เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ก็ถอนตัวกลับ เช่น สงครามขับไล่อิรักออกจากการยึดครองคูเวตของกองกำลังสหประชาชาติ (UN) โดยการนำของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1990
(2) สงครามเบ็ดเสร็จ  (Absolute War) เป็นสงครามที่ประเทศมหาอำนาจใช้กำลังทางทหารเข้ายึดและครอบครองดินแดนแห่งนั้นไว้ตลอดไป โดยเข้าไปจัดระเบียบการปกครองใหม่ตามความต้องการของตน และตักตวงผลประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติและอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน ฯลฯ ในช่วงการขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 เป็นต้น

การแก้ไขความขัดแย้ง

1.  การแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี  โดยใช้วิธีการทางการทูตและการเมืองได้แก่

1.1 การเจรจาโดยตรงระหว่างคู่กรณี
1.2  การไกล่เกลี่ยเพื่อหาข้อยุติ
1.3  การสืบสวนหาข้อเท็จจริง                      
1.4  การเป็นคนกลางเข้ามาช่วยเจรจา
1.5  การประนีประนอม
1.6  การตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

2. การแก้ไขความขัดแย้งด้วยวิธีบีบบังคับ  จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่ไม่สามารถใช้แบบสันติวิธีได้สัมฤทธิ์ผลเท่านั้น  แบ่งได้ 2 ทาง คือ

1.  การตอบโต้  แบ่งออกเป็นดังนี้
     - รีทอร์ชั่น เป็นวิธีการที่ไม่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ก็ไม่เป็นมิตร เช่น ตัดความสัมพันธ์ทางการทูต 
     
     - รีไพรซอล เป็นวิธีการไม่ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น การไม่ยอมปฏิบัติตามพันธกรณีในสนธิสัญญา
     - การใช้มาตรการอื่น ๆ เช่น การคว่ำบาตร การปิดล้อมทะเลอย่างสันติ  เป็นต้น

2. การใช้กำลัง เป็นวิธีการสุดท้ายที่ทำ คือ ใช้กำลังสูงสุด คือ การทำสงคราม
       - สงครามจำกัดขอบเขต  คือ การใช้กำลังเข้าบังคับเพื่อคลี่คลายปัญหาความขัดแย้ง โดยให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด
       - สงครามเบ็ดเสร็จ คือ การเข้าไปครอบครองดินแดนของชาติอื่น และแทรกแซงด้านการบริหารการปกครอง เพื่อสร้างความยิ่งใหญ่กับชาติของตน

การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ

การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตนและเป็นการระงับกรณีความขัดแย้งที่มาจากการแข่งขันทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  การประสานประโยชน์มีความสำคัญทั้งทางด้านการเมือง การทหาร การค้า และการทูต อย่างไรก็ตามแม้จะมีการประสานประโยชน์  แต่ก็ยังมีการแข่งขัน  ความขัดแย้ง และสงครามอยู่ ดังนั้นสังคมโลกจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้การสนับสนุน และปรับปรุงวิธีการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การประสานประโยชน์โดยการรวมกลุ่มของประเทศต่างๆ

การรวมกลุ่มของประเทศต่าง ๆ นั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและประสานผลประโยชน์ระหว่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นการถ่วงดุลอำนาจให้ประเทศต่าง ๆ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน

1.  ปัจจัยของการรวมกลุ่มของประเทศต่าง ๆ ปัจจัยในการรวมกลุ่มมีหลายประการ ดังนี้
     1)  สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น มีพรมแดนติดต่อกัน
     2)  ระบบเศรษฐกิจที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน  
     3)  ระบบการเมืองการปกครองที่คล้ายคลึงกันจะรวมกลุ่มเพื่อประสานประโยชน์ร่วมกัน
     4)  ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความก้าวหน้าทางสังคม การศึกษา วัฒนธรรมในแต่ละประเทศให้เท่าเทียมกัน

2.  รูปแบบการรวมกลุ่มระหว่างประเทศ

 1)  การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มี 4 ระดับ คือ

(1) เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) หรือเขตปลอดภาษี มีการยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรให้แก่ประเทศสมาชิกในกลุ่ม แต่จะเก็บภาษีศุลกากรเท่าใดก็ได้กับประเทศนอกกลุ่ม ได้แก่ นาฟตา (NAFTA) และ อาฟตา (AFTA)
(2) สหภาพศุลกากร (Custom Union) ยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรและข้อจำกัดทางการค้าให้แก่ประเทศสมาชิกในกลุ่ม และแต่ละประเทศในกลุ่มต้องกำหนดอัตราภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน ในขณะนี้ยังไม่มีการรวมกลุ่มประเทศในระดับนี้  เช่น ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC)

(3)  ตลาดร่วม (Common Market) การควบคุมสินค้าเข้าและสินค้าออกจะถูกยกเลิกให้แก่ประเทศสมาชิก และสามารถเคลื่อนไหวโยกย้ายปัจจัยการผลิตในประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี เช่น ประชาคมยุโรป (EC)

(4) สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) นอกจากมีลักษณะเหมือนตลาดร่วมแล้วประเทศสมาชิกยังต้องมีนโยบายทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างเดียวกัน เช่น กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน นโยบายภาษีอากรอย่างเดียวกัน ร่วมกันตั้งองค์กรกลางขึ้นมาเป็นผู้คอยกำหนดนโยบายและวางแผนเศรษฐกิจให้ประเทศสมาชิกยึดถือ   เช่นสหภาพยุโรป (EU)  
  
2) การรวมกลุ่มการเมืองระหว่างประเทศ

       ในอดีตการรวมกลุ่มความร่วมมือทางการเมืองระหว่างประเทศเป็นการรวมกลุ่มเพื่อรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงร่วมกัน เนื่องจากหวาดกลัวภัยคอมมิวนิสต์ ภายหลังสงครามเย็นสิ้นสุดจึงเปลี่ยนไปเป็นความร่วมมือในการประสานผลประโยชน์ในเขตภูมิภาค เช่น องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันในเอเชียอาคเนย์ (SEATO) ซึ่งพัฒนาไปเป็นสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสมาคมอาเซียน (ASEAN)  องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO)  เป็นต้น

ผลดีและผลเสียของความร่วมมือระหว่างประเทศ และผลกระทบต่อประเทศไทย



ผลดีของความร่วมมือระหว่างประเทศ
ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดสันติภาพและความเป็นธรรม เกิดการช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เงินลงทุน เทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น

ผลเสียของการร่วมมือระหว่างประเทศ
อาจก่อให้เกิดการกีดกัน นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มได้

ผลกระทบต่อประเทศไทย
ประเทศไทยได้รับจากความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรมไทย ได้รับการช่วยเหลือ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชาติอื่น รวมทั้งนำเอาความเจริญก้าวหน้ามาใช้ในการพัฒนาประเทศมากขึ้น
 

สรุป

      ปัจจุบันโลกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศที่ด้อยพัฒนา ซึ่งก่อให้เกิดการแข่งขันระหว่างประเทศ จนทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะปัญหาทางการเมือง และทางเศรษฐกิจ จึงทำให้เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างกลุ่มมนุษย์

บรรณานุกรม